วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรกับการรักษามะเร็ง


        จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าว นพ.สมหมาย ทองประเสริฐ เปิดคลินิกใน จ.สิงห์บุรี ทำการรักษาโรคมะเร็งแก่ผู้ป่วยโดยใช้ตำรับยาสมุนไพร ควบคู่กับการรักษาด้วยวิธีการแผนปัจจุบัน ขณะเดียวกันทางองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ออกมาระบุว่า ได้ทำการศึกษาวิจัยสมุนไพรตำรับดังกล่าวตั้งแต่ปี 2542 จนสามารถผลิตเป็นแคปซูล และได้ยื่นขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ สรรพคุณ “แก้น้ำเหลืองเสีย” กับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ไปแล้วนั้น ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจข่าวดังกล่าว ซึ่ง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข ไม่ได้นิ่งนอนใจ สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานข้อมูลให้ทราบ โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
        เริ่มจาก พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้รายงานข้อมูลตำรับยารักษามะเร็งในตำรับยาไทย ว่า ปัจจุบันมีจำนวนตำรับยาสมุนไพรที่แจ้งขึ้นทะเบียนไว้ 86,095 ตำรับ เป็นตำรับยารักษามะเร็ง 1,927 ตำรับ ในจำนวนนี้เป็นตำรับยาใช้รักษามะเร็งตับ 85 ตำรับ รักษามะเร็งเต้านม 91 ตำรับ รักษามะเร็งปากมดลูก 43 ตำรับ และรักษามะเร็งปอด 44 ตำรับ จากการสำรวจ ข้อมูลของหมอพื้นบ้านพบว่า มีหมอพื้นบ้านที่ครอบครองตำรับยาสมุนไพรรักษามะเร็ง 228 คน ที่ยังคงใช้ตำรับยารักษาโรคมะเร็งในปี 2553 จำนวน 149 คน และหมอพื้นบ้านที่ยินดีเปิดเผยตำรับยาที่ตนเองรักษาจำนวน 11 คน รวม 13 ตำรับ
        สำหรับองค์ประกอบในตำรับยาพื้นบ้าน 13 ตำรับ ประกอบด้วย พืชวัตถุ 52 ชนิด ได้แก่ นมวัวชิ้ง ชาติตระโก เขือง ขาวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ฝางเสน ทองพันชั่ง กระชายแดง ขิง ดีปลี ขันทองพยาบาท กาฝากกรุง กาฝากตะแพง กาฝากคำป้อม กาฝากม่วงน้อย กาฝากม่วงใหญ่ ต้นตะกวง ตะไคร้ กำแพง 7 ชั้น เปลือกดานงาน โหราเท้าสุนัข รากตะโกนา พญารากเดี่ยว แท่งทอง บอระเพ็ด ลำดวนดง หม้ออบ ย่านางบ้าน ยาน่องแดง ลีลาวดี แน่งหอม บานไม่รู้โรยแดง บานไม่รู้โรยขาว ข้าวโพด ดอกคำฝอย สมอไทย มะกรูด พริกไทยดำ ไพล ยาดำ รากกะตังใบ รากคำห้อย เกสรบัวหลวง จ้านแดง ขมิ้นชัน กระชาย พุทธรักษา ขมิ้นอ้อย พริกไทย โกฏ สออ ปลาไหลเผือก และหนอนตายยาก สัตว์วัตถุ 2 ชนิด ได้แก่ คางคก กระดูกควายเผือก แต่ละตำรับมีเอกลักษณ์เฉพาะหมอ และมีการใช้สมุนไพรในตำรับแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะพื้นที่ อย่างไรก็ตามมีการใช้หัวยาข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ประกอบในตำรับยารักษาโรคมะเร็งถึง 6 ตำรับใน 13 ตำรับ โดยกลุ่มมะเร็งที่หมอพื้นบ้านมีประสบการณ์ในการรักษา 5 ลำดับจากมากไปหาน้อย คือ มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งมดลูก และมะเร็งผิวหนัง

           นอกจากนี้ตำรับยาไทยที่อ้างอิงในคัมภีร์แพทย์แผนไทยและมีผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กำลังวิเคราะห์ว่าตำรับใดที่เหมาะสมจะนำมาศึกษาต่อยอดสำหรับรักษาโรคมะเร็ง 4 ชนิดได้แก่ มะเร็งตับ ปอด เต้านม และปากมดลูก ดังนี้

      1.ตำรับยาเบญจโลกวิเชียร (ยาห้าราก) ประกอบด้วยสมุนไพร 5 ชนิดได้แก่ รากชิ่งชี่ รากย่านาง รากคนทา รากเท้ายายม่อม และรากมะเดื่อชุมพร มีรายงานผลการทดลองในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดด้วยเอทานอลในตำรับนี้ มีสมุนไพรรากคนทาและรากย่านางมีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านมและเซลล์มะเร็งปอดและยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี

      2.ตำรับเบญจกูล ประกอบด้วยสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ ดีปลี ชะพลู เจตมูลเพลิงแดง สะค้าน และขิง มีรายงานผลการทดลองในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดของตำรับนี้สามารถต้านมะเร็งปอดได้ดี โดยสารที่ออกฤทธิ์ที่ดีในเซลล์มะเร็งทุกชนิด ได้แก่ “สารพลัมบาจีน” ( plum bagin) ซึ่งสารดังกล่าวเสื่อมสลายง่ายที่อุณหภูมิปกติ 25 องศาเซลเซียส จึงควรเก็บ สารสกัดไว้ในอุณหภูมิต่ำ

      3.ตำรับเบญจามฤต เป็นตำรับยาในคัมภีร์ธาตุบรรจบคัมภีร์โรคนิทาน ซึ่งประกอบด้วย มหาหิงคุ์ ยาดำบริสุทธิ์ รงทอง มะกรูด ขิงแห้ง ดีปลี พริกไทย รากทนดี ดีเกลือ จากการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทยระบุว่า สามารถใช้รักษาโรคมะเร็งตับได้ โดยจากรายงานการวิจัยพบว่า สารสกัดที่ได้จากรงทอง มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง และสารสกัดด้วยเอธานอล น้ำจากผลดีปลีและผลพริกไทย ได้ผลต้านการออกซิเดชั่นในหลอดทดลอง โดยตำรับนี้ สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้จัดทำเป็นโครงการศึกษาวิจัยอยู่ในแผนการวิจัยปีงบประมาณ 2554

      4.ตำรับตรีผลา เป็นตำรับยาแผนไทยเพื่อล้างพิษออกจากระบบต่าง ๆ ของร่างกายโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร ระบบเลือด ระบบน้ำเหลือง เป็นยาที่ปลอดภัยไร้ผลข้างเคียงประกอบด้วยสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ ลูกสมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม จากการศึกษาวิจัยในหนูทดลองพบว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ยับยั้งการเจริญและลุกลามของเซลล์มะเร็ง และมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ


       นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้รายงานผลการศึกษาวิจัยสมุนไพรตำรับที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง ว่า สถาบันวิจัยและพัฒนา อภ.ได้ศึกษาวิจัยสมุนไพรตำรับที่ใช้รักษาโรคมะเร็งซึ่งเป็นตำรับดั้งเดิมของ นพ.สมหมาย มาตั้งแต่ปี 2542 และได้รับอนุสิทธิบัตรเมื่อปี 2549 โดยสมุนไพรตำรับนี้ มีส่วนผสมของพืชสมุนไพร 8 ชนิด ได้แก่ มะไฟเดือนห้า พุทธรักษา แทงทวย พญายอ ปีกไก่ดำ เหงือกปลาหมอ ขาวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ จากการรวบรวมข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวกับสมุนไพรตำรับนี้ตั้งแต่ปี 2529 พบว่า มีแนวโน้มในการยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนมะเร็ง กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในหนูที่เป็นมะเร็ง และมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่ ลดการแพร่กระจายของมะเร็ง และสารสกัดสมุนไพรตำรับนี้ได้ผ่านการศึกษาด้านความเป็นพิษเรื้อรังแล้ว ขณะนี้ อภ.ได้ยื่นขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ สรรพคุณ  “แก้น้ำเหลืองเสีย” เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา

         ด้าน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ อย. กล่าวว่า ในการขอขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณจะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญหรือคณะอนุกรรมการยา เป็นผู้พิจารณา ว่ายาทั้งหมดในสูตรมีความเหมาะสม ปลอดภัยหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในขณะที่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้รายงานผลการตรวจสอบคลินิก นพ.สมหมาย โดย นายจุรินทร์ ลักษณ วิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข ระบุว่า สถานพยาบาลหรือคลินิกมีใบอนุญาตถูกต้อง นพ.สมหมายมีใบประกอบโรคศิลปะ ส่วนที่เป็นข่าวนั้น นพ.สมหมายก็ไม่ได้มีการโฆษณาอวดอ้าง แต่เป็นเพราะสื่อให้ความสนใจทำข่าว และการรักษามะเร็งก็เป็นการผสมผสานการใช้ยาแผนปัจจุบันกับยาสมุนไพรที่ปรุงขึ้นเอง ซึ่งคนที่เป็นแพทย์และมีใบประกอบโรคศิลปะสามารถทำได้ในการรักษาผู้ป่วยเฉพาะราย 

        จากข้อมูลที่กล่าวมา แม้ว่าสมุนไพรหลายชนิดจะมีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง แต่ก็เป็นเพียงการศึกษาวิจัยในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองเท่านั้น ยังไม่ได้มีการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยมะเร็งอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงควรใช้วิจารญาณ มิฉะนั้นท่านอาจจะพลาดโอกาสสำคัญในการรักษาชีวิต.
เดลินิวส์
ที่มา : http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=3297.0
ภาพประกอบเพิ่มเติมจาก อินเตอร์เน็ต

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อาหารฤทธิ์ร้อน-เย็น

อาหารฤทธิ์ร้อน-อาหารฤทธิ์เย็น

อาหารฤทธิ์ร้อน

กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
- ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ (ข้าวก่ำ ข้าวนิล) ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์
- เผือก มัน กลอย อาหารหวานจัด ขนมปัง ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง


กลุ่มโปรตีน
- เนื้อ นม ไข่
- ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วทอดทุกชนิด
- เห็ดโคน (เห็ดปลวก) เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดก่อ เห็ดไค เห็ดขม เห็ดผึ้ง
- โปรตีนจากพืชและสัตว์ที่หมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว มิโสะ โยเกิร์ต ซีอิ้ว แทมเป้ กะปิ น้ำปลา ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาเค็ม
- เนื้อเค็ม แหนม ไข่เค็ม ซีอิ้ว เป็นต้น


กลุ่มไขมัน
ควรงดหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
เพราะไขมันมีพลังงานความร้อนมากกว่าอาหารชนิดอื่นๆ เช่น
- น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์
- กะทิ เนื้อมะพร้าว
- งา รำข้าว จมูกข้าว
- เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดอัลมอลล์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดกระบก
- ลูกก่อ เป็นต้น


กลุ่มผักฤทธิ์ร้อน ผักที่มีรสเผ็ดทุกชนิด เช่น
- กระชาย กระเพรา กุ้ยช่าย (ผักแป้น) กระเทียม
- ขิง ข่า (ข่าแก่จะร้อนมาก) ขมิ้น
- ผักชี ยี่หร่า โหระพา พริก พริกไทย (ร้อนมาก) แมงลัก
- ไพล ตะไคร้ ใบมะกรูด เครื่องเทศ
- ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีพืชบางชนิดที่ไม่มีรสเผ็ดแต่มีฤทธิ์ร้อน (มีพลังงานความร้อนหรือแคลอรี่ที่มาก) เช่น
- กะหล่ำปลี กระเฉด ใบยอดและเมล็ดกระถิน ผักกาดเขียวปลี
- ผักโขม ผักแขยง
- คะน้า แครอท
- ชะอม
- บีทรูท เม็ดบัว ไหลบัว รากบัว แปะตำปึง ใบปอ ใบยอ
- แพงพวยแดง
- ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอ ลูกเนียง
- ลูกตำลึง ฟักทองแก่
- โสมจีน โสมเกาหลี (ร้อนเล็กน้อย)
- ไข่น้ำ (ผำ) สาหร่่ายทะเล สาหร่ายน้ำจืด(เทา) ยอดเสาวรส หน่อไม้
- พืชที่มีกลิ่นฉุนทุกชนิด เป็นต้น


กลุ่มผลไม้ฤทธิ์ร้อน
เป็นกลุ่มผลไม้ที่ให้น้ำตาล วิตามินหรือธาตุอาหารที่นำไปสู่ขบวนการเผาผลาญ
เป็นพลังงานความร้อน (แคลอรี่) ที่มาก เ่ช่น
- กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ กระเจี๊ยบแดง กระทกรก (เสาวรส)
- สำหรับกล้วยหอมทองและกล้วยหอมเขียวมีรสหวานจัดจึงมักออกฤทธิ์ตีกลับเป็นร้อน)
- ขนุนสุก
- เงาะ
- ฝรั่ง
- ทุเรียน ทับทิมแดง
- น้อยหน่า
- มะตูม มะเฟือง มะไฟ มะแงว มะปราง มะม่วงสุก มะขามสุก (ร้อนเล็กน้อย) มะละกอสุก (ร้อนเล็กน้อย)
- ระกำ (ร้อนเล็กน้อย)
- ลิ้นจี่ ลำไย ลองกอง ละมุด ลูกยอ ลูกลำดวน ลูกยางม่วง ลูกยางเีขียว ลูกยางเหลือง
- สละ ส้มเขียวหวาน สมอพิเภก
- องุ่น
- ผลไม้ทุกชนิดที่ผ่านความร้อน เช่น การอบ นึ่ง ปึ้ง ย่าง ต้ม หรือตากแห้ง เป็นต้น


อาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมาก ถ้ากินมากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก

- อาหารที่ปรุงเค็มจัด มันจัด หวานจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ฝาดจัดและขมจัด
- อาหาร กลุ่มไขมัน
- เนื้อ นม ไข่ที่มีไขมันมาก รวมถึงสารที่มีสารเร่งสารเคมีมาก
- พืชผักผลไม้ที่มีการสารเคมีมาก
- อาหารที่ปรุงผ่านความร้อนนาน ๆ ผ่านความร้อนหลายครั้ง ใช้ไฟแรง หรือใช้คลื่นความร้อนแรง ๆ
- อาหารใส่สารสังเคราะห์ ใส่สารเคมี
- อาหารใส่ผงชูรส
- สมุนไพร หรือยาที่กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดหรือบำรุงเลือด
- วิตามิน แร่ธาตุ และอาหารเสริมที่สกัดเป็นน้ำ ผง หรือเม็ด
- ยกเว้นอาจกินได้เมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าขาดสารดังกล่าว
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือน้ำตาลที่มากเกินไป เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
- ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
- อาหาร ที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมอบ
- ขนมกรุบกรอบ ขนมปัง อาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง น้ำหมัก ข้าวหมาก ปลาเค็ม เนื้อเค็ม
- ไข่เค็ม ของหมักดอง อาหารทะเล (จะมีทั้งไขมันและโซเดียมสูง) เป็นต้น
- น้ำร้อนจัด เย็นจัด และน้ำแข็ง

โดยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนว่าจะงดหรือลดอะไร แค่ไหนที่ทำให้เกิดสภาพโปร่งโล่งสบาย เบากายและกำลังเต็มที่สุด




************

อาหารฤทธิ์เย็น

กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
- น้ำตาล ข้าวขาว เส้นขาว (เส้นหมี่. เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีน้ำมัน) วุ้นเส้น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้องเหลือง
สำหรับ น้ำตาล ข้าวขาว เส้นขาว และวุ้นเส้นกินเพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาที่ร่างกายร้อนมากๆ


กลุ่มโปรตีน
- ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วโชเล่ย์ขาว ลูกเดือย
- เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดลม(เห็ดบด) เห็ดตาโล่ เห็ดตีนตุ๊กแก


กลุ่มผักฤทธิ์เย็น
- กระหล่ำดอก ก้านตรง กวางตุ้ง ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดขาว ผักกาดหอม
- หยวกกล้วย ปลีกล้วย ก้านกล้วย กล้วยดิบ หัวไช้เท้า (ผักกาดหัว) ก้างปลา
- ข้าวโพด ขนุนดิบ ดอกสลิด (ดอกขจร) ฝัก/ยอด/ดอกแค
- ใบเตย ผักติ้ว ตังโอ๋ ใบ/ยอดตำลึง
- ถั่วงอก
- บัวบก สายบัว ผักบุ้ง บล๊อกเคอรี่ บวบ
- ปวยเล้ง ผักปลัง
- พญายอ (เสลดพังพอนตัวเมีย)
- ฟักทองอ่อน ยอดหรือดอกฟักทอง ยอดฟักข้าว ยอดฟักแม้ว ฟัก แฟง แตงต่างๆ
- มะละกอดิบ-ห่าม มะเขือเปราะ มะเขือลาย มะเขือยาว มะเขือเทศ มะเดื่อ มะอึก ใบมะยม ใบมะขาม
- มังกรหยก มะรุม ยอดมะม่วงหิมพานต์
- ย่านางเขียว-ขาว
- รางจืด
- ว่านกาบหอย ว่านหางจระเข้ ว่านมหากาฬ ทูน (ตูน) ว่านง็อก (ใบหูลิง) ผักว่าน
- โสมไทย ใบส้มป่อย ส้มเสี้ยว ส้มรม ส้มกบ
- หมอน้อย ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน เหงือกปลาหมอ ผักโหบแหบ
- อ่อมแซบ (เบญจรงค์) ยอดอีสึก (ขุนศึก) อีหล่ำ

กลุ่มผลไม้ฤทธิ์เย็น
- กล้วยน้ำว้าห่าม กล้วยหักมุก แก้วมังกร กระท้อน
- แคนตาลูป
- ชมพู่ เชอรี่
- แตงโม แตงไทย
- ทับทิมขาว ลูกท้อ
- มังคุด มะยม มะขวิด มะดัน มะม่วงดิบ มะละกอดิบ-ห่าม มะขามดิบ
- น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว
- ลางสาด
- สับปะรด สตรอเบอรี่ สาลี่ ส้มโอ ส้มเช้ง ส้มซ่า ส้มเกลี้ยง สมอไทย
- ลูกหยี หมากเม่า หมากผีผ่วย
- แอปเปิ้ล

เรียบ เรียงโดยใช้ข้อมูลจาก ถอดรหัสสุขภาพ เล่ม ๒ "ความลับฟ้า: ถ้าสุขภาพพึ่งตนเกิดไม่ได้ หมอและคนไข้จะพากันป่วยตาย" โดย ใจเพชร มีทรัพย์ (หมอเขียว)